เรื่องของโรคซึมเศร้ากลายเป็นโรคที่ถูกยอมรับ และเป็นเรื่องปกติที่คนคนหนึ่งจะเป็นได้ โดยสาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของสารเคมีในสมองที่ทำงานผิดปกติ, พันธุกรรม และสภาพแวดล้อม ในสมัยก่อนมนุษย์ไม่ได้เข้าใกล้กับโรคชนิดนี้มาก และขาดความรู้ในการรับมือ ทำให้โรคซึมเศร้าถูกรักษา และรับมือด้วยวิธีที่ผิด ๆ แต่ตรงกันข้ามกับปัจจุบัน หากคุณรู้ว่าตัวเองมีอาการจิตตก และรู้สึกผิดปกติสามารถที่จะเดินไปพบแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการรักษาได้อย่างไม่ยากมากนัก แต่ในกรณีตรงกันข้าม ถ้าหากคนรอบตัวของคุณ มีผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า คุณจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีการรับมือกับผู้ป่วยในลักษณะนี้เป็นพิเศษ ในบทความชิ้นนี้จึงได้รวบรวมวิธีการรับมือกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไว้ครบครันแล้ว จะมีอะไรบ้างไปติดตามกันได้เลย เว็บหวยออนไลน์
1.ชวนผู้ป่วยทำกิจกรรม ที่เคลื่อนไหว
เพื่อให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ต้องย้ำคิดย้ำทำในเรื่องที่ทำให้พวกเขารู้สึกเศร้า หรือหม่นหมอง คุณอาจจะลองแนะนำพวกเขาให้ไปทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวไปมาด้วยกัน ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมพวกเขาได้ดี การทำงานศิลปะ, การออกกำลังกาย หรือจะเป็น การเล่นเกมก็เป็นตัวเลือกที่ง่าย และได้ความบันเทิงกันทั้งสองฝ่าย เขาจะรู้สึกสนุก และเพลิดเพลินแทนที่จะรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง
2.ฟังผู้ป่วยด้วยจิตใจ
หลายครั้งที่ผู้ป่วยในโรคนี้จะพูดถึงทุกความคิดที่อยู่ในใจของเขาออกมาอยู่ตลอด ๆ กับคนสนิท คุณควรที่จะเปิดใจรับฟังเขาอย่างจริงใจ เพื่อให้เขาได้พูดในสิ่งที่ค้างคา และเก็บกดอยู่ในใจ นี่เป็นสัญญาณที่ดีในทางปฏิบัติ เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกมีตัวตน และอบอุ่นใจเมื่อเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม อย่างไรก็ดีในแง่ที่ผู้ป่วยมีโอกาสจะทำร้ายตัวเอง การที่คุณได้ฟังเขาก็อาจจะทำให้ได้รับสัญญาณเตือนภัย เพื่อป้องกันการทำร้ายตัวเองของผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย
3.ไม่ควรกดดันผู้ป่วย
สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า คุณไม่ควรที่จะบีบคั้นกับผู้ป่วยในลักษณะของคำถาม ทำไมถึงเป็นโรคซึมเศร้า, เมื่อไหร่อาการนี้จะหาย, เศร้ามากน้อยแค่ไหน หรือคำถามที่จะสร้างความไม่สบายใจให้กับผู้ป่วย เนื่องจากพื้นฐานของผู้ที่มีอาการโรคซึมเศร้าจะวิตกกังวลง่ายเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานแล้ว ในสถานการณ์ที่เขาถูกกดดันเป็นพิเศษจะยิ่งทำให้อาการยิ่งแย่เข้าไปใหญ่
4.อย่าบอกปัด
ผู้ป่วยที่มีเป็นโรคซึมเศร้ามักจะมีปัญหาในด้านการสื่อสารพื้นฐานอยู่แล้ว เมื่อเขาพยายามที่จะสื่อสาร หรือพูดความในใจ ผู้คนรอบข้างควรที่จะเปิดใจ และรับฟังเขาอย่างจริงจัง หากคุณบอกปัด หรือทำเป็นไม่ได้ยิน จะยิ่งเป็นการตอกย้ำในประเด็นที่ว่าเขาไม่มีคุณค่า หรือเป็นบุคคลที่ไม่มีใครต้องการมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามคุณควรที่จะอยู่กับเขาทั้งทางร่างกาย และจิตใจเพื่อเป็นการเยียวยา และเพิ่มความมั่นใจพื้นฐานให้กับผู้ป่วย
5.สังเกต และรับมืออย่างทันท่วงที
หากผู้ป่วยเริ่มมีความวิตกกังวล และเริ่มพูดพึมพำเกี่ยวกับความคิดทำร้ายร่างกาย คุณควรที่จะอยู่ประกบกับเขา ห้ามคลาดสายตา และถ้าเป็นไปได้ควรที่จะติดต่อแพทย์เพื่อหาวิธีช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ป่วยจะพยายามทำร้ายร่างกาย หรือเกิดเหตุการณ์บานปลายมากกว่านั้นจริง ๆ
ทั้ง 5 ข้อพื้นฐานที่ได้แนะนำไปนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีรับมือ เมื่อคุณต้องใช้ชีวิตกับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า หากคุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคชนิดนี้เป็นอย่างดี และมีวิธีรับมือที่ถูกต้อง คุณ และผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวก็จะสามารถปรับตัวเข้าหากัน และใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข